2 มิถุนายน 2552

ประดิษฐานพระพุทธศาสนาเมืองสาวัตถี

การประดิษฐ์พุทธศาสนา ณ เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล

เมื่อประดิษฐานพระศาสนาในแคว้นมคธได้อย่างมั่นคงแล้ว ต่อมาไม่นานพระพุทธศาสนาก็มีศูนย์กลางแห่งใหม่ที่ เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล โดยอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้สร้าง"วัดพระเชตวัน"ขึ้น แล้วกราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ไปอยู่ประจำ และนางวิสาขามหาอุบาสิกาเศรษฐีนีคนหนึ่ง ก็มีจิตศรัทธาสร้าง วัดบุพพาราม ถวายด้วย

ซากมูลคันธกุฎีสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าที่วัดเชตะวันมหาวิหาร


คันธกุฎี แปลว่า กุฎีที่ทีกลิ่นหอม เป็นชื่อเรียกสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ เรียกเต็มว่า พระคันธกุฎี ในพุทธประวัติ เล่าว่าสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าทุกแห่งจะมีผู้นำของหอมนานาชนิดไม่ว่าจะเป็นไม้หอม ดอกไม้หอม เป็นต้น มาบูชาพระพุทธเจ้ามิได้ขาด โดยประดับไว้ภายในที่ประทับบ้าง วางเรียงรายอยู่โดยรอบบ้าง โดยมุ่งบูชาพระพุทธเจ้าด้วยกลิ่นหอมจึงปรากฏว่าหลังวัดที่ประทับจะมีดอกไม้ที่แห้งแล้วถูกนำไปทิ้งไว้เป็นกองใหญ่ด้วยมีจำนวนมาก
พระคันธกุฎี หรือสถานที่ประทับประจำของพระพุทธเจ้ามิใช่จะมีกลิ่นหอมเท่านั้น ยังถูกสร้างขึ้นอย่างวิจิตรพิสดารเท่าที่มนุษย์จะทำกันได้ด้วยแรงศรัทธา



พระมูลคันธกุฎี ภายในวัดเชตวันมหาวิหาร



สถูปวัดเชตวันมหาวิหาร




ซากพุทธสถานในวัดเชตวันมหาวิหาร


ซากประตูเมืองสาวัตถี

สาวัตถีในปัจจุบัน

กำแพงเมืองสาวัตถีโบราณยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน ภายในกำแพงเมืองมีโบราณสถานคงเหลืออยู่มากมาย เช่น ซากบ้านของบิดาพระองคุลีมาล, ซากคฤหาสถ์ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี, และวัดเก่าแก่ที่สร้างอุทิศแก่ พระติรธังกร (ศาสดาองค์แรกของศาสนาเชน) บริเวณนอกเขตเมืองสาวัตถียังมีสถานที่สำคัญเช่น ซากยมกปาฏิหาริย์สถูป (สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์) และวัดเชตวันมหาวิหาร (พระอารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนา) ซึ่งเป็นสถานที่แสวงบุญสำคัญของชาวพุทธทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีวัดที่ประเทศต่างๆ ที่นับถือศาสนาพุทธมาสร้างไว้ ได้แก่ ประเทศไทย เกาหลีใต้ ศรีลังกา พม่า ธิเบตและจีน

อ้างอิงภาพข้อมูลจาก wikipedia

1 ความคิดเห็น: