6 กรกฎาคม 2552

อานิสงส์ของการได้มีพระธาตุไว้บูชา


พระโมคคัลลานะได้ขึ้นไปบนสวรรค์ และถามเทวบุตรองค์หนึ่งว่าเหตุใดจึงได้มาอยู่ที่ อเนกวัณณวิมาน"... ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อก่อนข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระชินเจ้าทรงพระนามว่าสุเมธ เป็นปุถุชนยังไม่ได้ตรัสรู้มรรคผล บวชอยู่ ๗ พรรษา เมื่อพระศาสดาทรงพระนามว่าสุเมธผู้ชนะมาร มีโอฆะอันข้ามได้แล้ว ผู้คงที่ ปรินิพพานแล้ว ข้าพเจ้านั้นได้ ไหว้รัตนเจดีย์อันหุ้มด้วยข่ายทองคำ ยังใจให้เลื่อมใสในพระสถูปนั้นข้าพเจ้าไม่มีการให้ทาน เพราะข้าพเจ้าไม่มีไทยวัตถุให้ แต่ได้ชักชวนชน เหล่าอื่นในการให้ทานนั้นว่า ท่านทั้งหลายจงบูชาพระธาตุของพระพุทธเจ้าผู้ควรบูชาเถิด ได้ยินว่าพวกท่านจักไปสู่สวรรค์ เพราะการบูชาพระบรมธาตุอย่างนี้ กุศลกรรมเท่านั้นอันข้าพเจ้าได้กระทำแล้ว ข้าพเจ้า จึงได้เสวยสุขอันเป็นทิพย์ด้วยตนเอง บันเทิงใจอยู่ในท่ามกลางหมู่เทพเจ้าชาวไตรทศ ข้าพเจ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งบุญนั้น..."


ขอบคุณ www.pratatlanna.com

พระบรมสารีริกธาตุลักษณะต่างๆ

พระบรมสารีริกธาตุ
คือ พระธาตุส่วนย่อยที่บังเกิดแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเฉพาะ มิได้เป็นคำที่ใช้เรียก พระธาตุของพระอรหันตสาวก หรือพระธาตุเจดีย์ต่างๆ (บางทีอาจใช้คำว่า "พระบรมธาตุ" หรือ "พระสารีริกธาตุ" แทนได้)
"พระธาตุ" คือ กระดูก หรือ ส่วนของร่างกายต่างๆ เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โลหิต ฯลฯ ที่มีคุณลักษณะเป็นที่แตกต่างจากสามัญชนทั่วไป โดยมีลักษณะคล้าย ' ธาตุ ' ซึ่งหากมองโดย ไม่สังเกตให้ดีแล้ว ก็คล้าย กรวด หิน แก้ว เพชร ฯลฯ
คำว่า พระบรมธาตุ และ พระธาตุ ยังอาจใช้หมายถึงพระสถูปเจดีย์ต่างๆได้อีกด้วย เช่น พระบรมธาตุไชยา พระธาตุดอยสุเทพ พระธาตุพนม ฯลฯ

คุณลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุ

คุณลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุ ที่พบเห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน และได้รับการยอมรับจากพุทธศาสนิกชนและพระภิกษุสงฆ์โดยทั่วไป พบว่ามีลักษณะที่มองจากภายนอกคร่าวๆได้ดังนี้


- มีด้วยกันหลายสี ตั้งแต่ใสดั่งแก้วจนกระทั่งขุ่น สีขาวดุจสีสังข์ สีทอง สีดำ สีชมพู สีแดง ฯลฯ
- มีหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ ลักษณะเมล็ดข้าวสาร พันธุ์ผักกาด เมล็ดถั่วแตก แก้วใส ฯลฯ
- หากมีขนาดเล็กมักสามารถลอยน้ำได้ เมื่อลอยด้วยกันจะสามารถดึงดูดเข้าหากันได้ และลอยติดกันเป็นแพ
- สามารถเสด็จมาเพิ่มจำนวนขึ้นหรือลดลงได้เอง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพระธาตุ
- เปลี่ยนขนาดและสีสันเองได้
- ส่วนมากมักมีน้ำหนักค่อนข้างเบา เมื่อเทียบกับขนาด

พระบรมสารีริกธาตุลักษณะต่างๆ
อรรถ กถาสุมังคลวิลาสินี ซึ่งเป็นคัมภีร์อธิบายความพระสูตรทีฆนิกาย ในพระสุตตันตปิฎกนั้น พระอรรถกถาจารย์ได้แบ่งลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ
1.นวิปฺปกิณฺณา ธาตุ คือ พระบรมสารีริกธาตุที่ยังคงรูปร่างเดิมอยู่เป็นชิ้นเป็นอัน มิได้แตกย่อยลงไป มีทั้งหมด 7 องค์ ได้แก่ พระนลาฏ (กระดูกหน้าผาก) 1องค์ พระเขี้ยวแก้ว 4 องค์ และพระรากขวัญ (กระดูกไหปลาร้า) 2 องค์
2.วิปฺปกิณฺณา ธาตุ คือ พระบรมสารีริกธาตุส่วนต่างๆขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่มิได้คงรูปร่างอยู่เป็นชิ้น แต่แตกย่อยลงเป็นเป็นจำนวนมาก กระจายไปประดิษฐานตามสถานที่ต่างๆซึ่งพระอรรถกถาจารย์ท่านได้จำแนกลักษณะและขนาดของพระบรมสารีริกธาตุชนิด วิปฺปกิณฺณา ธาตุ ต่อไปอีกดังนี้ เมื่อพิจารณาจากลักษณะภายนอก แบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ


1. (สี)เหมือนดอกมะลิตูม (สีพิกุล) [อรรถกถาบาลีว่า สุมนมกุลสทิสา] ท่านว่าพระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้ ตวงได้ 6 ทะนาน


2. (สี)เหมือนแก้วมุกดาที่เจียระไนแล้ว (สีผลึก) [อรรถกถาบาลีว่า โธตมุตฺตสทิสา] ท่านว่าพระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้ ตวงได้ 5 ทะนาน


3. (สี)เหมือนจุณ หรือ ผงทองคำ (สีทองอุไร) [อรรถกถาบาลีว่า สุวณฺณจุณฺณา] ท่านว่าพระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้ ตวงได้ 5 ทะนาน

แบ่งได้เป็น 3 ขนาด ได้แก่


พระบรมสารีริกธาตุ สัณฐานดั่งเมล็ดงา


พระบรมสารีริกธาตุ สัณฐานดั่งเมล็ดพันธุ์ผักกาด

ขนาดเล็ก ประมาณเมล็ดพันธุ์ผักกาด[อรรถกถาบาลีอธิบายว่า สพฺพขุทฺทกา ธาตุ สาสปวีชมตฺตา] บางท่านก็เรียกว่า พระบรมสารีริกธาตุลักษณะเมล็ดพันธุ์ผักกาด*บางตำราระบุว่าพระบรมสารีริกธาตุขนาดนี้จะมีสีดั่งมะลิตูม

"กระดูกของปุถุชนผู้มีกิเลสหนา ตัณหาเหนียว ย่อมมีโครงสร้างสลับซับซ้อน ประกอบด้วยสารผสมเชิงซ้อนหลายชั้นจนมีสีดำ กระดูกของผู้มีศีลธรรม ผู้มีกิเลศเบา ตัณหาบาง ย่อมมีโครงสร้างโปร่งประกอบด้วยสารประกอบที่มีความสับสนน้อย มักมีสีเทา กระดูก ของพระอรหันต์ ผู้หมดจดปราศจากกิเลศตัณหา เพราะตัดสายอุปทาน (อันเป็นแรงร้อยยึดเหนี่ยว) เสียได้ กระดูกของท่านจึงสลายตัวกลายเป็นธาตุเดี่ยว กล่าวคือ ส่วนที่เป็นแคลเซียมก็รวมตัวกับแคลเซียม ส่วนที่เป็นซิลิคอนรวมกับซิลิคอน มีสีและคุณสมบัติเป็นธาตุอันอิสระตามเดิม ซึ่งเรียกว่า พระธาตุดังนี้ "



พระบรมสารีริกธาตุ สัณฐานดั่งเมล็ดข้าวสาร

พระบรมสารีริกธาตุ สัณฐานดั่งเมล็ดข้าวสารหัก

ขนาดเขื่อง คือมีขนาดใหญ่ขึ้นมา ประมาณเมล็ดข้าวสารหักกึ่ง[อรรถกถาบาลีอธิบายว่า มหาธาตุ มชฺเฌ ภินฺนตณฺฑุลมตฺตา] บางท่านก็เรียกว่า พระบรมสารีริกธาตุลักษณะข้าวสาร *บางตำราระบุว่าพระบรมสารีริกธาตุขนาดนี้จะมีสีดั่งแก้วมุกดา


พระบรมสารีริกธาตุ สัณฐานดั่งเมล็ดถั่วแตก
ขนาดใหญ่ คือมีขนาดใหญ่ที่สุด ประมาณเมล็ดถั่วเขียวผ่ากลาง[อรรถกถาบาลีอธิบายว่า อติมหตี มชฺเฌ ภินฺนมุคฺคามตฺตา] บางท่านก็เรียกว่า พระบรมสารีริกธาตุลักษณะเมล็ดถั่ว *บางตำราระบุว่าพระบรมสารีริกธาตุขนาดนี้จะมีสีดั่งทองอุไร

ขอบคุณข้อมูล www.relicsofbuddha.com
และ www.pratatlanna.com

พุทธเจดีย์

เจดีย์ที่สร้างขึ้นมาในพระพุทธศาสนา มีไว้เพื่อระลึกถึงพระรัตนตรัยทั้งสิ้น สามารถแบ่งได้ เป็น 4 ประเภท นั่นคือ

1. พระธาตุเจดีย์คือ เจดีย์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ หรือ พระธาตุ เช่น พระธาตุพนม พระธาตุดอยสุเทพ บรมบรรพต(ภูเขาทอง) ฯลฯ

2. พระธรรมเจดีย์ มีผู้สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นจากการที่ทรงมีพุทธดำรัสก่อนพุทธปรินิพพานว่า พระธรรมวินัยจักเป็นศาสดาแทนพระองค์ จึงเกิดมีการคิดจารึกพระธรรมลงบนวัตถุแล้วนำมาบูชาแทนพระธรรม เช่น พระไตรปิฎก หนังสือธรรมะ ฯลฯ


3. บริโภคเจดีย์ คือ สถานที่หรือสิ่งของทั้งหมดที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้า เช่น สังเวชนียสถานทั้งสี่ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พุทธบริขาร รอยพระพุทธบาท ฯลฯ


4. อุเทสิกเจดีย์ คือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพระรัตนตรัย โดยไม่มีการกำหนดรูปแบบอย่างชัดเจน เช่น พระพุทธรูป พระผง พระเครื่อง พระพุทธบาท(จำลอง) ฯลฯ ทั้งนี้ รวมถึงพระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุจำลองด้วย
ขอบคุณ www.relicsofbuddha.com

พระบรมสารีริกธาตุ



ตำนานการเกิดพระบรมสารีริกธาตุ
เหตุที่เกิดพระบรมสารีริกธาตุจำนวนมากขึ้นนั้น พระโบราณาจารย์อธิบายว่า เกิดจากพุทธประสงค์ ก่อนที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จปรินิพพาน ดังต่อไปนี้


โดยปกติที่พระพุทธเจ้าที่ทรงมีพระชนมายุยืนยาว สามารถประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคง จะมีพระบรมสารีริกธาตุที่มีลักษณะรวมกันเป็นแท่งเดียว ดุจทองแท่งธรรมชาติ ซึ่งมหาชนในสมัยนั้นไม่สามารถแบ่งปัน นำไปประดิษฐานตามที่ต่างๆได้ จึงจำต้องสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้ในที่แห่งเดียว ซึ่งพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน (พระสมณโคดม) ทรงเล็งเห็นว่า พระองค์มีเวลาปฏิบัติพุทธกิจเพียง 45 ปี นับว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ศาสนาของพระองค์ยังไม่แพร่หลาย และหมู่สัตว์ทั้งหลายเกิดมาไม่ทันสมัยพระองค์มีมากนัก หากได้อัฐิธาตุของพระองค์ไปอุปัฎฐากบูชา จะได้บุญกุศลเป็นอันมาก จึงทรงอธิษฐานให้พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ แตกย่อยลงเป็น 3 สัณฐาน เว้นแต่ธาตุทั้ง 7 ประการ คือ พระนลาฏ (กระดูกหน้าผาก)1 พระเขี้ยวแก้ว4 และพระรากขวัญ (กระดูกไหปลาร้า)2 นอกจากนั้นให้กระจายไปทั่วทิศานุทิศ เพื่อยังประโยชน์แก่หมู่สัตว์ทั่วไป


ซึ่งความทั้งหมดพ้องกันจากตำราหลายๆ ตำรา ที่พระอาจารย์สมัยต่างๆได้รจนาไว้ ดังเช่น "อรรถกถาสุมังคลวิลาสินี" "ปฐมสมโพธิกถา" ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส "ตำนานมูลศาสนา" "ชินกาลมาลีปกรณ์" และ "พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก" เป็นต้น



สถานที่ประดิษฐาน
พระบรมสารีริกธาตุ แบบที่กระจัดกระจายนั้น หลังจากได้ทำการแบ่งออกเป็น 8 ส่วน แยกย้ายไปประดิษฐานตามเมืองต่างๆ หลังจากถวายพระเพลิงแล้ว ตามตำนานกล่าวว่า พระมหากัสสปะเถระ และ พระเจ้าอชาตศัตรู ได้ร่วมกันกระทำ 'ธาตุนิธาน' คือการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่แบ่งออกไปนั้นกลับมาประดิษฐานรวมกันไว้ในที่แห่งเดียว เพื่อป้องกันการสูญหาย จากการศึกและสงคราม และในตอนท้ายของตำนานกล่าวว่า บุคคลผู้มาอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุออกไปและกระทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ยิ่งใหญ่ ก็คือ พระเจ้าอโศกมหาราช นั่นเอง


จากเนื้อความในพระปฐมสมโพธิกถา ได้มีการแจกแจงถึงสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ แบบที่ไม่กระจัดกระจาย ทั้ง 7 ประการ สรุปได้ดังนี้

จากเนื้อความในพระปฐมสมโพธิกถา ได้มีการแจกแจงถึงสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ แบบที่ไม่กระจัดกระจาย ทั้ง 7 ประการ สรุปได้ดังนี้
1. พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนขวา ประดิษฐานอยู่ที่ พระจุฬามณีเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (บางตำรากล่าวว่า ได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ประเทศศรีลังกา ในรัชสมัยของพระเจ้าทุฏฐคามินีอภัย)
2. พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนซ้าย ประดิษฐานอยู่ที่ เมืองคันธารราฏฐ (แคว้นคันธาระ เป็นอาณาจักรในสมัยโบราณ กินอาณาเขตทางตอนเหนือของประเทศปากีสถาน และตะวันออกของประเทศอัฟกานิสถานในปัจจุบัน)
3. พระเขี้ยวแก้วเบื้องล่างขวา ประดิษฐานอยู่ที่ ณ ประเทศศรีลังกา(เชื่อกันว่า เป็นพระเขี้ยวแก้วองค์ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดศรีดาลาดามาลิกาวา เมืองเคนดี ในปัจจุบัน)
4. พระเขี้ยวแก้วเบื้องล่างซ้าย ประดิษฐานอยู่ที่ นาคพิภพ
5. พระรากขวัญขวา ประดิษฐานอยู่ที่ พระเกศจุฬามณีเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (บางตำรากล่าวว่า ภายหลังได้อัญเชิญมาประดิษฐานยังพระเจดีย์ถูปาราม ประเทศศรีลังกา)
6. พระรากขวัญซ้าย ประดิษฐานอยู่ที่ ทุสสเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก (ทุสสเจดีย์ ประดิษฐานอยู่ ณ อกนิฏฐพรหมโลก ซึ่งเป็นภพภูมิหนึ่งในปัญจสุทธาวาส และเป็นชั้นสูงสุดของรูปพรหม)
7. พระอุณหิศ(กรอบหน้า) ประดิษฐาน ณ ทุสสเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก (บางตำรากล่าวว่า พระมหากัสสปะเถระเป็นผู้เก็บรักษาไว้ และมอบแก่สัทธิวิหาริกสืบต่อกันมา ภายหลังพระมหาเทวเถระ จึงได้เป็นผู้อัญเชิญไปประดิษฐานยังประเทศศรีลังกา)


ขอบคุณข้อมูล relicsofbuddha.com