6 กรกฎาคม 2552

พระบรมสารีริกธาตุลักษณะต่างๆ

พระบรมสารีริกธาตุ
คือ พระธาตุส่วนย่อยที่บังเกิดแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเฉพาะ มิได้เป็นคำที่ใช้เรียก พระธาตุของพระอรหันตสาวก หรือพระธาตุเจดีย์ต่างๆ (บางทีอาจใช้คำว่า "พระบรมธาตุ" หรือ "พระสารีริกธาตุ" แทนได้)
"พระธาตุ" คือ กระดูก หรือ ส่วนของร่างกายต่างๆ เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โลหิต ฯลฯ ที่มีคุณลักษณะเป็นที่แตกต่างจากสามัญชนทั่วไป โดยมีลักษณะคล้าย ' ธาตุ ' ซึ่งหากมองโดย ไม่สังเกตให้ดีแล้ว ก็คล้าย กรวด หิน แก้ว เพชร ฯลฯ
คำว่า พระบรมธาตุ และ พระธาตุ ยังอาจใช้หมายถึงพระสถูปเจดีย์ต่างๆได้อีกด้วย เช่น พระบรมธาตุไชยา พระธาตุดอยสุเทพ พระธาตุพนม ฯลฯ

คุณลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุ

คุณลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุ ที่พบเห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน และได้รับการยอมรับจากพุทธศาสนิกชนและพระภิกษุสงฆ์โดยทั่วไป พบว่ามีลักษณะที่มองจากภายนอกคร่าวๆได้ดังนี้


- มีด้วยกันหลายสี ตั้งแต่ใสดั่งแก้วจนกระทั่งขุ่น สีขาวดุจสีสังข์ สีทอง สีดำ สีชมพู สีแดง ฯลฯ
- มีหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ ลักษณะเมล็ดข้าวสาร พันธุ์ผักกาด เมล็ดถั่วแตก แก้วใส ฯลฯ
- หากมีขนาดเล็กมักสามารถลอยน้ำได้ เมื่อลอยด้วยกันจะสามารถดึงดูดเข้าหากันได้ และลอยติดกันเป็นแพ
- สามารถเสด็จมาเพิ่มจำนวนขึ้นหรือลดลงได้เอง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพระธาตุ
- เปลี่ยนขนาดและสีสันเองได้
- ส่วนมากมักมีน้ำหนักค่อนข้างเบา เมื่อเทียบกับขนาด

พระบรมสารีริกธาตุลักษณะต่างๆ
อรรถ กถาสุมังคลวิลาสินี ซึ่งเป็นคัมภีร์อธิบายความพระสูตรทีฆนิกาย ในพระสุตตันตปิฎกนั้น พระอรรถกถาจารย์ได้แบ่งลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ
1.นวิปฺปกิณฺณา ธาตุ คือ พระบรมสารีริกธาตุที่ยังคงรูปร่างเดิมอยู่เป็นชิ้นเป็นอัน มิได้แตกย่อยลงไป มีทั้งหมด 7 องค์ ได้แก่ พระนลาฏ (กระดูกหน้าผาก) 1องค์ พระเขี้ยวแก้ว 4 องค์ และพระรากขวัญ (กระดูกไหปลาร้า) 2 องค์
2.วิปฺปกิณฺณา ธาตุ คือ พระบรมสารีริกธาตุส่วนต่างๆขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่มิได้คงรูปร่างอยู่เป็นชิ้น แต่แตกย่อยลงเป็นเป็นจำนวนมาก กระจายไปประดิษฐานตามสถานที่ต่างๆซึ่งพระอรรถกถาจารย์ท่านได้จำแนกลักษณะและขนาดของพระบรมสารีริกธาตุชนิด วิปฺปกิณฺณา ธาตุ ต่อไปอีกดังนี้ เมื่อพิจารณาจากลักษณะภายนอก แบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ


1. (สี)เหมือนดอกมะลิตูม (สีพิกุล) [อรรถกถาบาลีว่า สุมนมกุลสทิสา] ท่านว่าพระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้ ตวงได้ 6 ทะนาน


2. (สี)เหมือนแก้วมุกดาที่เจียระไนแล้ว (สีผลึก) [อรรถกถาบาลีว่า โธตมุตฺตสทิสา] ท่านว่าพระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้ ตวงได้ 5 ทะนาน


3. (สี)เหมือนจุณ หรือ ผงทองคำ (สีทองอุไร) [อรรถกถาบาลีว่า สุวณฺณจุณฺณา] ท่านว่าพระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้ ตวงได้ 5 ทะนาน

แบ่งได้เป็น 3 ขนาด ได้แก่


พระบรมสารีริกธาตุ สัณฐานดั่งเมล็ดงา


พระบรมสารีริกธาตุ สัณฐานดั่งเมล็ดพันธุ์ผักกาด

ขนาดเล็ก ประมาณเมล็ดพันธุ์ผักกาด[อรรถกถาบาลีอธิบายว่า สพฺพขุทฺทกา ธาตุ สาสปวีชมตฺตา] บางท่านก็เรียกว่า พระบรมสารีริกธาตุลักษณะเมล็ดพันธุ์ผักกาด*บางตำราระบุว่าพระบรมสารีริกธาตุขนาดนี้จะมีสีดั่งมะลิตูม

"กระดูกของปุถุชนผู้มีกิเลสหนา ตัณหาเหนียว ย่อมมีโครงสร้างสลับซับซ้อน ประกอบด้วยสารผสมเชิงซ้อนหลายชั้นจนมีสีดำ กระดูกของผู้มีศีลธรรม ผู้มีกิเลศเบา ตัณหาบาง ย่อมมีโครงสร้างโปร่งประกอบด้วยสารประกอบที่มีความสับสนน้อย มักมีสีเทา กระดูก ของพระอรหันต์ ผู้หมดจดปราศจากกิเลศตัณหา เพราะตัดสายอุปทาน (อันเป็นแรงร้อยยึดเหนี่ยว) เสียได้ กระดูกของท่านจึงสลายตัวกลายเป็นธาตุเดี่ยว กล่าวคือ ส่วนที่เป็นแคลเซียมก็รวมตัวกับแคลเซียม ส่วนที่เป็นซิลิคอนรวมกับซิลิคอน มีสีและคุณสมบัติเป็นธาตุอันอิสระตามเดิม ซึ่งเรียกว่า พระธาตุดังนี้ "



พระบรมสารีริกธาตุ สัณฐานดั่งเมล็ดข้าวสาร

พระบรมสารีริกธาตุ สัณฐานดั่งเมล็ดข้าวสารหัก

ขนาดเขื่อง คือมีขนาดใหญ่ขึ้นมา ประมาณเมล็ดข้าวสารหักกึ่ง[อรรถกถาบาลีอธิบายว่า มหาธาตุ มชฺเฌ ภินฺนตณฺฑุลมตฺตา] บางท่านก็เรียกว่า พระบรมสารีริกธาตุลักษณะข้าวสาร *บางตำราระบุว่าพระบรมสารีริกธาตุขนาดนี้จะมีสีดั่งแก้วมุกดา


พระบรมสารีริกธาตุ สัณฐานดั่งเมล็ดถั่วแตก
ขนาดใหญ่ คือมีขนาดใหญ่ที่สุด ประมาณเมล็ดถั่วเขียวผ่ากลาง[อรรถกถาบาลีอธิบายว่า อติมหตี มชฺเฌ ภินฺนมุคฺคามตฺตา] บางท่านก็เรียกว่า พระบรมสารีริกธาตุลักษณะเมล็ดถั่ว *บางตำราระบุว่าพระบรมสารีริกธาตุขนาดนี้จะมีสีดั่งทองอุไร

ขอบคุณข้อมูล www.relicsofbuddha.com
และ www.pratatlanna.com

3 ความคิดเห็น:

  1. ขอบูชาด้วยความศรัทธาครับผม

    ตอบลบ
  2. อยากได้มาบูชาบ้างค่ะ

    ตอบลบ
  3. อยากได้มาบูชาบ้างค่

    ตอบลบ